การวัดอุณหภูมิของร่างกาย แต่โดยทั่วไปแล้วเป็นที่ยอมรับกันว่า 37.0°C หรือ 98.6°F เป็นอุณหภูมิเฉลี่ยของอุณหภูมิปกติของร่างกาย อุณหภูมิ 36.8 ±0.7 °C หรือ 98.2° ±1.3 °F เป็นอุณหภูมิเฉลี่ยที่วัดใต้ลิ้น[7][8] แต่อุณหภูมิที่วัดทางทวารหนัก หรือ วัดโดยตรงจากภายในร่างกายจะสูงกว่าเล็กน้อย
อุณหภูมิแกน (ทวารหนัก หลอดอาหาร ฯลฯ)
ปกติ 36.5–37.5 °C (98–100 °F)
ภาวะตัวเย็นเกิน <35.0 °C (95.0 °F)
ไข้ >37.5–38.3 °C (100–101 °F)
ภาวะไข้สูง >37.5–38.3 °C (100–101 °F)
ไข้สูงเกิน >40.0–41.5 °C (104–107 °F)
การวัดอุณหภูมิส่วนต่างๆของร่างกาย
วัดทางรักแร้ 34.7–37.5 °C ถ้า มากกว่าหรือเท่ากับ 37.4°C มีไข้
วัดทางทวาน 36.6-37.9 °C ถ้า มากกว่าหรือเท่ากับ 38°C มีไข้
วัดทางปาก 35.5-37.5 °C ถ้า มากกว่าหรือเท่ากับ 37.5°C มีไข้
วัดทางหู หรือหน้าผาก 35.7-37.9 °C ถ้า มากกว่าหรือเท่ากับ 37.9°C มีไข้
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีไข้มีดังนี้
1. เช็ดตัวลดไข้ เพื่อเป็นการถ่ายเทความร้อนออกจากร่างกาย ถ้ามีอาการปวดศีรษะร่วมกับการใช้กระเป๋าน้ำแข็งประคบบริเวณศีรษะและหน้าผาก
2. ให้ยาลดไข้ตามความเหมาะสม เช่น ในเด็กให้ยาพาราเซตามอล น้ำเชื่อมขนาดตามอายุของเด็ก ผู้ใหญ่ให้ยาพาราเซตามอลชนิดเม็ด (500 มิลลิกรัม) 1-2 เม็ด
3. ให้ดื่มน้ำมากๆ ประมาณ 2,500-3,000 มิลลิลิตร ต่อวัน ยกเว้นในรายที่เป็นโรคไต โรคหัวใจ
4. ให้นอนพักมากๆ ในห้องที่มีอุณหภูมิไม่สูง อากาศถ่ายเทได้สะดวกและอากาศบริสุทธิ์
5. ให้อาหารที่มีประโยชน์ย่อยง่าย มีประโยชน์ต่อร่างกายและให้พลังงานสูง เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก เป็นต้น
6. สังเกตความผิดปกติ เช่น สีผิวหนัง อาการหนาวสั่น อาการเพ้อ ชัก เพื่อที่จะได้ช่วยเหลือทัน