เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง สามารถเกิดการติดเชื้อได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่ส่วนมากแล้วมักเกิดในเด็กเล็กๆ ที่อายุต่ำกว่า 3 ปี สำหรับในประเทศไทยอาจพบการระบาดได้บ่อยในช่วงฤดูฝน หรือช่วงปลายฝนต้นหนาวสามารถติดต่อผ่านสารคัดหลั่งต่างๆ ในร่างกาย เช่น น้ำมูก น้ำลาย ละอองจากการไอ จาม โดยเฉพาะการติดต่อจากการสัมผัสระยะฟักตัวของโรคจะอยู่ที่ประมาณ 5 วัน โดยในช่วง 2-4 วันแรก มักมีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา เช่น ไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล เมื่อการดำเนินโรคมีมากขึ้น ส่งผลให้ทางเดินหายใจส่วนล่างมีการอักเสบตามมา ทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบ กล่องเสียงอักเสบ และโรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ ในบางรายเกิดอาการรุนแรง เช่น ไข้สูง ไอแรง หอบเหนื่อย หายใจมีเสียงครืดคราด มีเสมหะในลำคอมากๆหากมีอาการไข้สูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียส ไอจนอาเจียน หายใจเร็วหอบจนชายโครงหรืออกบุ๋ม หายใจออกลำบากหรือหายใจมีเสียงวี้ด (wheezing) รับประทานอาหารหรือนมได้น้อย ซึมลง ปากซีดเขียว เพราะผู้ป่วยที่มีอาการหนัก มีโอกาสเสียชีวิตเนื่องจากระบบทางเดินหายใจล้มเหลวได้สูง
วิธีการสังเกต
อาการของโรคนี้เหมือนกับการเป็นไข้ปกติ แต่หากกินยาไปแล้วหลายวัน อาการไม่ดีขึ้น และยังพบว่ามีน้ำมูกมากผิดปกติ เกิดอาการไอจนอาเจียน จนนอนไม่ได้ ต้องรีบส่งตัวมารักษา ซึ่งเราจะเห็นอาการนี้หลังจากป่วยแล้ว 3 วัน ซึ่งหมอจะนำเชื้อจากจมูกหรือคอ ส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการ ก็จะทราบผล โดยแค่ครึ่งชั่วโมงก็ทราบผลในครึ่งชั่วโมง โดยจะต้องให้แอดมิต ให้น้ำเกลือ และยาขยายหลอดลม
อาการของการติดเชื้อไวรัส RSV
โดยทั่วไปแล้ว สัญญาณและอาการที่บ่งชี้ว่าเกิดการติดเชื้อไวรัส RSV จะแสดงออกมาหลังจากการสัมผัสกับเชื้อประมาณ 4-6 วัน สำหรับผู้ใหญ่และเด็กโต สัญญาณและอาการที่แสดงออกมาหลังการติดเชื้อไวรัส RSV จะคล้ายอาการของโรคไข้หวัด
คัดจมูกหรือน้ำมูกไหล
ไอแห้ง
มีไข้ต่ำ
เจ็บคอ
ปวดหัวเล็กน้อย
อาการของการติดเชื้อรุนแรง
ไวรัส RSV แพร่กระจายไปยังทางเดินหายใจส่วนล่างและทำให้เกิดโรคปอดบวมหรือโรคหลอดลมอักเสบได้ สัญญาณและอาการดังกล่าว ได้แก่
มีไข้ > 38 องศา
ไออย่างรุนแรง
หายใจมีเสียงหวีด
หายใจเร็ว หอบ หรือหายใจลำบาก
ตัวเขียวเนื่องจากขาดออกซิเจน
ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อไวรัส RSV
โรคปอดบวม
ภาวะติดเชื้อในหูส่วนกลาง
โรคหอบหืด
การรักษาการติดเชื้อไวรัส RSV
ไวรัส RSV นั้นไม่มีวิธีการรักษาให้หายโดยตรงเช่นเดียวกับโรคไข้หวัด แต่คุณสามารถบรรเทาอาการเจ็บป่วยให้คนไข้ได้ ดังนี้
ให้คนไข้ดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ
หยอดน้ำเกลือ 2-3 หยดลงในรูจมูกเพื่อละลายน้ำมูกหรือเสมหะ จากนั้นใช้ที่บีบดูดน้ำมูกหรือเครื่องดูดน้ำมูกเพื่อนำน้ำมูกเหล่านั้นออกมา
ให้คนไข้สูดดมไอน้ำจากเครื่องทำไอระเหยเพื่อให้ทางเดินหายใจชุ่มชื้นและหายใจได้สะดวกขึ้น
ระวังไม่ให้คนไข้อยู่ใกล้ควันบุหรี่ สีที่ยังไม่แห้ง ควันจากไม้ฟืน หรือฝุ่นควันอื่นๆ
หากลูกของคุณอายุน้อยกว่า 3 เดือน คุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนให้ยาพาราเซตามอลสำหรับทารกเพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยของลูก หากลูกของคุณอายุ 6 เดือนขึ้นไป คุณสามารถให้ยาไอบูโพรเฟนหรือพาราเซตามอลสำหรับเด็กแก่ลูกของคุณได้ในปริมาณที่เหมาะสม
ไม่ควรซื้อยาแก้หวัดมาให้คนไข้รับประทานเอง ยกเว้นได้รับการอนุญาตจากแพทย์
การป้องกันการติดเชื้อไวรัส RSV
ล้างมือบ่อยๆ
หลีกเลี่ยงการสัมผัส
ทำความสะอาดสิ่งรอบตัว
ไม่ใช้ข้องใช้ เช่น แก้วน้ำจานชาม ร่วมกับผู้อื่น
ไม่สูบบุหรี่
ทำความสะอาดของเล่นอยู่เสมอ
ดูแลสุขภาพของตนเองอยู่เสมอ
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่