เดือนที่ 1 (4สัปดาห์) ทารกจะมีขนาดเล็กเท่ากับเมล็ดข้าว จะเริ่มมีตุ่มเล็กๆยื่นออกมาลักษณะคล้ายมือและเท้า มีการสร้างสายสะดือและถุงน้ำคร่ำห่อหุ้ม ส่วนเซลล์ภายในจะมีเนื้อเยื่อพิเศษสองชั้นและจะกลายเป็นสามระดับชั้นตามลำดับ โดยเซลล์ชั้นแรกจะพัฒนาเป็นสมอง ระบบประสาท ผิวหนัง ตา และหู ส่วนชั้นต่อมาจะพัฒนาเป็นปอด กระเพาะอาหาร และชั้นที่สามจะกลายเป็นหัวใจ หลอดเลือด กล้ามเนื้อ และกระดูก
เดือนที่ 2 (8สัปดาห์) ช่วงนี้ทารกจะมีการการเจริญเติบโตของระบบที่สำคัญในร่างกาย ในเดือนที่ 2 นี้ตัวทารกจะมีความยาวประมาณ 1 นิ้วฟุต ซึ่งแม้จะมีขนาดเล็ก แต่ทารกก็จะมี แขน ขา หน้า รูปร่างเหมือนมนุษย์ขนาดจิ๋ว และคุณแม่เองก็จะเริ่มมีอาการแพ้ท้อง
เดือนที่ 3 (12สัปดาห์) เริ่มเห็นอวัยวะแต่ละส่วนของทารกชัดเจนขึ้น ไม่ว่าจะเป็น แขน ขา มือ เท้า จมูก ตา ปาก ใบหน้า ขนาดลำตัวของทารกที่โตขึ้นประมาณ 3นิ้้ว มีอวัยวะครบ 32 แต่ยังไม่สมบูรณ์ ช่วงนี้ยังสามารถได้ยินเสียงเต้นของหัวใจทารกได้ แต่ไม่ดังมาก ระยะนี้ควรระมัดระวังเรื่องยาที่รับประทาน ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้ยาควรปรึกษาแพทย์ก่อน
เดือนที่ 4 (16สัปดาห์) ทารกจะมีขนอ่อน และเริ่มมีขนขึ้นตามร่างกายส่วนต่างๆ อาทิ มีเส้นผมขึ้น มีสีคิ้วเข้มขึ้น และขนตาเริ่มปรากฏชัดขึ้น จมูก นิ้วมือและเท้า จะเห็นได้ชัดเจน ระบบการส่งคลื่นเสียงของหูเริ่มทำงานเต็มที่ และคุณแม่จะเริ่มรู้สึกถึงการดิ้นของลูกเป็นครั้งแรก
เดือนที่ 5 (20สัปดาห์) เริ่มมีการดิ้นมากขึ้น ไวต่อการสัมผัส เนื่องจากระบบประสาทพัฒนาอย่างสมบูรณ์จนสามารถควบคุบการทำงานของกล้ามเนื้อได้แล้ว ฟันน้ำนมเริ่มก่อตัวขึ้นในเหงือก ช่วงนี้ทารกลูกเริ่มได้ยินเสียงจากภายนอกและตอบสนองได้
เดือนที่ 6 (24สัปดาห์) ทารกเริ่มเติบโตช้ากว่าเดิม เพื่อให้อวัยวะภายใน เช่น ปอด ระบบย่อยอาหาร และระบบภูมิคุ้มกันได้พัฒนาอย่างเต็มที่ สมองพัฒนาจนเริ่มจดจำและเรียนรู้สิ่งต่างๆได้ การดิ้นของทารกในช่วงนี้ก็เกิดขึ้นอย่างมีวัตถุประสงค์มากขึ้น ประสาทการได้ยินก็พัฒนามากขึ้นจนจำเสียงพ่อกับแม่ได้
เดือนที่ 7 (28สัปดาห์) คุณแม่จะรู้สึกได้ดีถึงการเคลื่อนไหวของทารก ระยะครรภ์นี้ทารกจะมีน้ำหนัก 1 กิโลกรัมโดยประมาณ เปลือกตาจะเปิดเป็นครั้งแรก เริ่มมีอาการมดลูกบีบตัวเป็นระยะห่างๆกันและจะบีบรัดตัวครั้งละไม่นานเกิน 30 วินาที ในระยะนี้คุณแม่ควรจะได้เข้าอบรมเรียนรู้ขั้นตอนการเตรียมคลอด
เดือนที่ 8 (32สัปดาห์) มีการเจริญเติบโตของระบบกล้ามเนื้อมากขึ้น การทำงานของอวัยยวะต่างๆ ประสานงานกันได้ดีขึ้น หรืออาจอยู่ในท่ากลับหัวพร้อมที่จะคลอด มีการขยับตัวน้อยลงเพราะพื้นที่ในท้องแม่น้อยเกินไปเนื่องจากขนาดตัวของทารกโตขึ้น ช่วงหนึ่งเดือนก่อนคลอดคุณแม่อาจมีอาการมดลูกบีบรัดตัวซึ่งเป็นอาการที่ เรียกว่า เจ็บท้องหลอก การหดตัวรัดตัวนี้ก็เพื่อดันตัวทารก มาประชิดปากมดลุกเพื่อเตรียมพร้อมที่จะคลอด
เดือนที่ 9 (36สัปดาห์) ทารกจะสลัดขนอ่อนตามร่างกายออกเกือบหมดเหลือไว้แต่บริเวณไหล่ แขน ขา และรอยย่นตามลำตัว ผิวหนังนุ่มและเรียบ ยังคงมีไขสีขาวเคลือบอยู่บ้างบริเวณหลังเพื่อหล่อลื่นให้ทารกคลอดได้ง่าย เล็บมือจะยาว ปลายเล็บอาจข่วนบริเวณใบหน้าได้ ต่อมหมวกไตจะสร้างฮอร์โมนเร่งความสมบูรณ์ของปอด เพื่อเตรียมการหายใจครั้งแรกของชีวิตหลังคลอด ทารกแรกเกิดจะมีน้ำหนักตัว 3-4 กก. และมีความยาวจากศีรษะถึงก้นประมาณ 35-37 ซม. สังเกตดูใน 1 ชั่วโมงหลังอาหาร เด็กทารกในครรภ์ต้องดิ้นไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง ถ้าน้อยกว่าให้สังวรว่า อาจจะมีความผิดปกติเกิดแก่ทารก ควรเข้าพบแพทย์โดยเร็ว
การตรวจพบการเต้นของหัวใจทารก
เราสามารถตรวจการเต้นของหัวใจทารกภายในครรภ์ได้ตามวิธีดังนี้
ตรวจด้วยstethoscope: เริ่มได้ยินเสียงหัวใจทารกเมื่ออายุครรภ์ 17-19 สัปดาห์ อัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์จะอยู่ที่ 120-160 ครั้ง/นาที ทั้งนี้ เมื่ออายุครรภ์มากขึ้นจะได้ยินเสียงชัดเจนขึ้น
ตรวจด้วยUltrasonic Doppler: วิธีนี้จะได้ยินเสียงหัวใจทารกตั้งแต่อายุครรภ์ 10-12 สัปดาห์ขึ้นไป
ตรวจด้วยReal time sonography: สามารถตรวจการเต้นของหัวใจทารกและการเคลื่อไหวของทารก หลังจากเดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์
ตรวจด้วยEchocardiography: สามารถฟังเสียงเต้นของหัวใจทารกได้ตั้งแต่ 48 วันหลังประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย