คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG)

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography)

เป็นการตรวจการทำงานของหัวใจเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัว และคลายตัว สลับกันไปเป็นจังหวะอย่างสม่ำเสมอ หรือเต้นผิดจังหวะ หรือไม่

วัตถุประสงค์ ในการตรวจ

  • ช่วยวินิจฉัยแยกโรค เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย เป็นต้น
  • เฝ้าติดตามการฟื้นตัวจากกล้ามเนื้อหัวใจตาย
  • เพื่อประเมินผลจากยาที่ใช้รักษาโรคหัวใจ
  • เพื่อประเมินประสิทธิภาพเครื่องกระตุ้นหัวใจ
  • เพื่อระบุผลของการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด
  • การแปลผล เบื้องต้น


    1.อ่านอัตราการเต้นของหัวใจว่าเร็วหรือช้าผิดปกติหรือไม่ อัตราการบีบตัวของเอเตรียมเท่ากับอัตราการบีบตัวของเวนตริเคิลหรือไม่
    2.ดูจังหวะการเต้นว่าสม่ำเสมอหรือไม่ โดยสังเกตจาก P ไปยัง P และ R ไปยัง R ว่าคงที่หรือไม่
    3.สังเกตว่ามี P wave ปรากฏให้เห็นทุกครั้งหรือไม่ ในแต่ละจังหวะการเต้นของหัวใจ และ P wave นั้นสัมพันธ์กับ QRS หรือไม่
    4.ดู P wave และ QRS ว่ามีลักษณะของคลื่นเหมือนกัน ทุกจังหวะการเต้นหรือไม่
    5.ช่วง P – R interval, QRS complex และ QT interval อยู่ในมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่
    6.แปลผลว่าหัวใจเต้นผิดปกติชนิดใด ควรได้รับการรักษาพยาบาลอย่างไรกับการผิดปกติชนิดนั้น

    ขนาด 25mm/s

    การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

    การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นการใช้เครื่องบันทึกเป็นกราฟการเต้นของหัวใจ โดยเครื่องบันทึกจะใช้ความเร็ว กระดาษ มี 2 ขนาด คือ 50 มิลลิเมตร / วินาที และ 25 มิลลิเมตร / วินาที โดยส่วนใหญ่การบันทึกจะใช้เครื่องความเร็ว 25 มิลลิเมตร / วินาที ซึ่ง ทำให้ 1 ช่องเล็ก (1 มิลลิเมตร) ของกระดาษบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีค่าเท่ากับ 1 / 25 = 0.04 วินาที 5 ช่องเล็ก หรือ 1 ช่องใหญ่ (5 มิลลิเมตร) เท่ากับ 0.2 วินาที ความสูงแต่ ละช่องเล็กคิดเป็นความแรงของกระแสไฟฟ้า เท่ากับ 0.1 มิลิโวลต์



    P wave เป็นผลรวมของระยะเมื่อถูกกระตุ้น (depolarization) ของเอเตรียม (atrium) หรือ atrial depolarization รูปร่างกลมเรียบกว้างไม่เกิน 0.12 วินาที ความสูงไม่เกิน 2.5 มิลลิเมตร จะมี P wave 1 คลื่น ต่อ QRS complex 1 คลื่นหัวตั้งใน lead, I, II, AVF, V4 V5 V6 หัวกลับใน AVR
    PR Interval เป็นระยะของการเริ่มมีสัญญาณไฟฟ้า จนถึงจุดเริ่มระยะ ความยาวปกติเท่ากับ 0.12–0.20วินาที
    QRS complex เกิดจากระยะเมื่อถูกกระตุ้น และ การหดตัวของเวนตริเคิล ปกติ 60–100ครั้ง / นาที จังหวะสม่ำเสมอลักษณะคลื่นสูงแคบ 0.04–0.10วินาที
    Q wave เป็นส่วนแรกของเวนตริเคิลที่ถูกกระตุ้น มีความลึกไม่เกิน 1/2 ของคลื่น QRS และกว้างไม่เกิน 0.04 วินาที
    ST segment เป็นส่วนที่อยู่ระหว่างจุดสิ้นสุดของ QRS และเริ่มต้นของ T คือช่วงเวลาระยะเมื่อถูกกระตุ้น สิ้นสุดลงและก่อนการกลับเข้าสู่สภาพปกติจะเริ่มขึ้น ระยะนี้จะไม่มีความแตกต่างของประจุกไฟฟ้าที่ขั้วบวกและลบ คลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ปกติเป็นแนวราบ (isoelectric)
    T wave เป็นระยะที่ต้องใช้พลังงาน คลื่น T จึงเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น ในภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือมีการเปลี่ยนแปลงของอิเล็กโทรไลต์ ปกติคลื่น T จะสูง ไม่เกิน 0.5 mV ในขั้วต่อแขนขา และไม่เกิน 1 mV ในขั้วต่อทรวงอกหัวตั้งกลมเรียบ ใหญ่กว่า P Wave
    QT interval เป็นระยะระหว่างจุดเริ่มต้นของ QRS complex และการสิ้นสุดของ T wave วัดในขณะที่เวนตริเคิลซ้ายบีบตัวความยาวประมาณ 0.35–0.40วินาที
    U wave เป็นคลื่นบวกเล็ก ๆ เกิดตามหลัง T wave ปกติจะไม่พบ แต่บางครั้งก็พบ จะมีความสูงเกิน 1 มิลลิเมตร
    RR interval ระยะเวลาระหว่าง QRS complex ถึง QRS ถัดไป

    ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (arrhythmia) เป็นคำรวมของโรคที่เกิดจากสัญญาณไฟฟ้าที่หัวใจสร้างขึ้นมีความผิดปกติไปจาก เดิม ทำให้จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ โดยหัวใจอาจเต้นเร็วขึ้นหรือเต้นช้าลงหรือเต้นไม่เป็นจังหวะ ตัวอย่างหัวใจเต้นผิดปกติ
  • Sinus tachycardia เป็นภาวะที่คลื่นหัวใจเหมือน normal sinus แต่อัตราการเต้นเร็วกว่า 100 ครั้ง / นาที
  • Sinus bradycardia เป็นภาวะที่คลื่นหัวใจเหมือน normal sinus แต่ อัตราการเต้นช้ากว่า 60 ครั้ง / นาที หากช้ากว่า 40 ครั้งต่อนาทีมักมีความดันโลหิตต่ำ
  • Premature atrial contraction(PAC) เป็นภาวการณ์เต้นของหัวใจห้องบนซึ่งเกิดจากการเหนี่ยวนำโดยจุดผิดปกติ (ectopic foci) ที่ไม่ใช่ SA node ทำให้เกิด P wave เร็วกว่ากำหนด บางครั้งซ่อนอยู่บน T wave ทำให้รูปร่างของ T wave เปลี่ยนไป บางครั้ง PAC ไม่สามารถเหนี่ยวนำหัวใจห้องล่างได้ จึงไม่มี QRS complex
  • Atrial flutter เกิดจากมี ectopic foci ใน atrium กระตุ้นให้มี Depolarization อย่างเร็วและสม่ำเสมอ 250–350ครั้ง / นาที ทำให้ P wave เป็นรูป ฟันเลื่อย QRS complex เกิดจากการเหนี่ยวนำไฟฟ้าจากเอเตรียมไปยังเวนตริเคิล จึงไม่สัมพันธ์กัน
  • Atrial fibrillation(AF) เป็นภาวะที่หัวใจห้องบนเต้นเร็วหรือสั่นพริ้วเกิดจาก ectopic foci ในหัวใจห้องบน (atrium) ปล่อยประจุไฟฟ้าออกมาถี่มากและ ไม่สม่ำเสมอ อัตราเต้นเร็วมากกว่า 400–700ครั้ง / นาที
  • Premature ventricular contraction(PVC) เป็นความผิดปกติที่เกิดจาก ectopic foci ในหัวใจห้องล่าง จึงพบ QRS wave โดยไม่มี P wave นำมาก่อน และ QRS ที่เกิดขึ้นจะมีรูปร่างผิดปกติ มีความกว้างเกิน 0.12 นาที จะมีช่วงหยุดหลังจากนั้นเนื่องจาก Refractory period ของ PVC จะไปกันไม่ให้หัวใจเต้นตามปกติได้ ชั่วขณะหนึ่ง ST segment และ T wave จะชี้ไปในทางตรงกันข้าม
  • Ventricular tachycardia(VT) เป็นภาวะที่เวนตริเคิลเต้นในอัตราที่เร็วมาก แต่สม่ำเสมอ 101–250ครั้ง/นาที ไม่มี P wave ส่วน QRS รูปร่างผิดปกติ และกว้างกว่า 0.12 วินาที
  • Ventricular fibrillation(VF) หรือหัวใจห้องล่างสั่นระริก เกิดขึ้นจากเวนตริเคิลสร้างกระแสประสาทขึ้นเองหลายแห่ง และเกิดไม่พร้อมกัน จึงมีทั้งระยะ เมื่อถูกกระตุ้น (depolarization) กลับเข้าสู่สภาพปกติ (repolarization) ในเวลาเดียวกัน เป็นผลให้ไม่มีการบีบตัวของเวนตริเคิล จึงไม่มีเลือดส่งออกจากหัวใจ